ฟีโรโมนคืออะไร? มีผลต่ออารมณ์ทางเพศ ช่วยดึงดูดเพศตรงข้ามหรือไม่

ฟีโรโมนคืออะไร น้ำหอมฟีโรโมน เคยได้ยินกันบ้างหรือเปล่าค่ะกับคำว่า “ฟีโรโมน” ที่มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Pheromone หลายคนอาจจะยังไม่เคย ทราบมาก่อนว่ามันคืออะไร แล้วใช้ทำอะไร

วันนี้เรามีข้อมูลความรู้ดีๆเกี่ยวกับฟีโรโมนที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ ฟีโรโมน

ฟีโรโมน คือสารเคมีที่ถูกร่างกายผลิตขึ้น และหลั่งสารเคมีนี้ออกมาจากร่างกาย ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน ความจริงแล้วคำว่า “Pheromone” มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Pherein มีความหมายว่า ส่งต่อ หรือ นำไปให้ และคำว่า Hormon มีความหมายว่า ตื่นเต้น หรือเต้นรัว (ซึ่งใช้กับการเจริญพันธุ์ของมนุษย์)

ฟีโรโมนคืออะไร

ฟีโรโมน เป็นสารที่ระเหยออกจากร่างกายได้ แต่มีลักษณะของกลิ่นที่อ่อนมากๆจนไม่มีใครได้กลิ่นแต่มีความรู้สึกต้องการอยากจะเข้าใกล้คนนั้น คนนี้เป็นพิเศษ ซึ่งโดยปกติแล้วในสมองของคนเรานั้นจะมีต่อมรับสัมผัสกลิ่นนี้อยู่ ซึ่งจะทำงานรับกลิ่นเมื่อสัมผัสได้ว่ามีกลิ่นฟีโรโมนอยู่ ซึ่งการรับกลิ่นนี้จะเห็นได้ว่าไม่ได้รับกลิ่นผ่านทางจมูกแต่อย่างใด

แต่เป็นการรับกลิ่นผ่านทางต่อมดังกล่าวนั่นเอง แต่สำหรับใครที่กำลังคิดว่าถ้าหากเราใช้น้ำหอมฟีโรโมนเข้าไปแล้วจะสามารถดึงดูดให้สิ่งมีชีวิตทุกอย่างมาหลงใหลและรักในตัวคุณไม่เว้นแม้กระทั้งสัตว์ละก็ ไม่ต้องกังวลไปเลยค่ะ เพราะฟีโรโมนจะมีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่มีสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น

ซึ่งจุดเด่นที่ทำให้หลายคนสนใจในน้ำหอมฟีโรโมนนี้ก็คือช่วยเป็นแรงดึงดูดอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ความรักใคร่ ของหญิงและชายนั่นเองและเมื่อมีการทดลองและค้นพบแล้วว่าฟีโรโมนมีผลต่อการเจริญพันธุ์หรือความรู้สึกรักใคร่จริง จึงมีการสกัดเอาฟีโรโมนจองมนุษย์ออกมาใช้ด้วยการทดสอบที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะว่าผู้เข้าทดสอบมีปฏิกิริยาต่อฟีโรโมนจริงๆ

เมื่อการทดลองเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงพบว่า ฟีโรโมนของคนเราจะมีการหลั่งออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยจะหลั่งเฉพาะบริเวณอีกด้วย เช่น บริเวณผิวหนังรอบหัวนม ใต้รักแร้ อวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งฟีโรโมนจะมีผลต่ออารมณ์เพศอารมณ์รักใคร่ เกิดการกระตุ้นให้รู้สึกต้องการทางเพศต่อเพศตรงข้าม เมื่อเกิดเป็นความรักฟีโรโมนจะหลั่งสารออกมากระตุ้นให้อีกฝ่ายได้รับรู้ถึงความรักที่คุณมีให้รู้มากขึ้น

จนเกิดการตอบสนองซึ่งกันและกัน จากนั้นฟีโรโมนจะหลั่งสารให้เกิดอารมณ์และความปรารถนาทางกายจนนำไปสู่การมีความสัมพันธ์ทางกายที่ทั้งคู่มีความสุขและยินยอมซึ่งวิธีสังเกตง่ายๆก็คือ คุณจะเกิดความรู้สึกชอบ แอบปลื้มแอบรัก ใครสักคนที่คุณรู้จักทันทีที่เห็น นั่นเป็นเพราะคุณรับได้ถึงกลิ่นฟีโรโมนของผู้หญิงคนนั้นหรือผู้ชายคนนั้นนั่นเอง..

จากผลการวิจัยพบว่า สำหรับเพศชาย กลิ่นที่สร้างความสนใจทางเพศมากที่สุดเป็นกลิ่นเหงื่อของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงไข่ตก ส่วนกลิ่นเหงื่อของหญิงที่กินยาคุมกำเนิดไม่ได้สร้างความสนใจให้พวกเขาเลย
นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้ว การทำงานของฟีโรโมนยังเกี่ยวข้องกับความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก เมื่อแม่สามารถดมกลิ่นจากเสื้อผ้าแล้วแยกออกว่าชุดไหนเป็นของลูกตนเอง ส่วนลูกที่กินนมแม่ เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมนจากรักแร้ของแม่ ก็สามารถแยกแยะออกว่าเต้าไหนเป็นของแม่ตน
สัตว์ต่างๆ จะแสดงออกถึงอาการติดสัดหรือฮีทเมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ เช่น แมวจะร้องหง่าวๆ หาคู่ ส่วนสุนัขตัวเมียจะมีมูกเลือดออกและอวัยวะเพศบวม สำหรับลิงบาบูนตัวเมียก้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงจัด วัวตัวเมียจะยืนกระวนกระวายส่งเสียงร้องมูมู มีมูกออกมาจากช่องคลอด แถมยังปล่อยกลิ่นที่อวัยวะเพศ จนสัตว์ตัวผู้ต้องเข้าไปดอมดม

แต่สำหรับมนุษย์เราแล้ว เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไรนักว่าอาการจะเป็นอย่างไร แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาเชื่อกันว่า มนุษย์ทั้งเพศหญิงและชายล้วนมีการสื่อสารถึงกันในช่วงไข่ตก ผ่านฮอร์โมนที่ชื่อ ฟีโรโมน (Pheromone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่คนหรือสัตว์สร้างขึ้น วัตถุประสงค์คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกัน รวมไปถึงกระตุ้นความต้องการทางเพศ โดยทั่วไปฮอร์โมนจะอยู่ภายในและออกฤทธิ์ในร่างกายตนเอง ในขณะที่ฟีโรโมนเป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ภายนอกร่างกาย ส่งผลไปยังผู้อื่น

ซึ่งฟีโรโมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน

1. ฟีโรโมนทำให้เกิดพฤติกรรมทันที ( Releaser Pheromone ) ฟีโรโมนที่มีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมและการแสดงออก ส่งผลไปกระตุ้นการตอบสนองได้ทันที ฟีโรโมนประเภทนี้จะมีชัดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ และยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น 6 ลักษณะคือ

  1. ฟีโรโมนใช้เพื่อการเตือนภัย ( Alarm Pheromone ) เมื่อเจอกับเหตุการณ์อันตรายจะปล่อยฟีโรโมนนี้ออกมา
  2. ฟีโรโมนใช้เพื่อบอกเส้นทาง ( Trail Marking Pheromone ) เมื่อสัตว์ต้องการนําทางให้แก่สัตว์ตัวอื่น ๆ เพื่อตามรอยไปยังสถานที่ที่ต้องการหรือแหล่งที่มีอาหาร
  3. ฟีโรโมนใช้เพื่อปลุกระดมพล ( Recruitment Pheromone ) มักจะมีในสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม จะปล่อยฟีโรโมนนี้เพื่อรวมกลุ่มออกล่า
  4. ฟีโรโมนใช้เพื่อกระตุ้นความต้องการทางเพศ ( Sex Attractant Pheromone ) ฟีโรโมนปล่อยออกมาเพื่อนดึงดูดเพศ กระตุ้นการผสมพันธุ์
  5. ฟีโรโมนใช้เพื่อบอกความเป็นผู้นํา ( Queen Pheromone ) ฟีโรโมนที่ปล่อยออกมาเพื่อบ่งบอกให้สัตว์อื่นได้รับรู้ว่าใครคือผู้นำตัวจริง
  6. ฟีโรโมนใช้เพื่อแสดงอาณาเขต ( Territory Pheromone ) ส่วนใหญ่สัตว์จะปล่อยฟีโรโมนนี้ออกมา เพื่อบ่งบอกและประกาศอาณาเขตของตัวเอง

2. ฟีโรโมนที่กระตุ้นแต่ไม่เกิดพฤติกรรม ( Primer Pheromone ) ฟีโรโมนประเภทนี้จะใช้เวลาตอบสนองค่อนข้างนานกว่าฟีโรโมนประเภทแรก อย่างเช่นฟีโรโมนที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการหรือสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งวงจรของประจำเดือนและการตั้งครรภ์ด้วย

กลิ่นฟีโรโมนสร้างความดึงดูดทางเพศได้จริงมั้ย?

อย่างที่ได้บอกไปว่าฟีโรโมนเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง สามารถรับรู้ได้จากสมอง โครงสร้างของฟีโรโมนจะคล้าย ๆ กับโครงสร้างของฮอร์โมน สามารถออกฤทธิ์ต่อประสาทสมองส่วนจิตใต้สำนึก ทำให้เกิดอารมณ์รักใคร่ กระตุ้นความต้องการทางเพศได้ด้วย จะเรียกว่าฟีโรโมนสามารถสร้างความดึงดูดทางเพศก็ได้

ถึงแม้ฟีโรโมนจะสร้างแรงดึงดูดได้ แต่ร่างกายผลิตฟีโรโมนออกมาน้อยมาก ๆ ฟีโรโมนเลยไม่ใช่ตัวการหลักสำคัญที่สามารถดึงดูดและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างรูปร่างหน้าตา รอยยิ้ม น้ำเสียง ท่าทาง การแต่งกาย ที่มนุษย์ที่ช่วยดึงดูดได้ก่อนฟีโรโมนด้วยค่า

การออกฤทธิ์ของฟีโรโมน

การออกฤทธิ์ของฟีโรโมน นพ.กุสตาฟ นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบฟีโรโมน ได้อธิบายว่า ฟีโรโมนเป็นสารที่เกาะติดกับไขมันที่ผิวหนังและรูขุมขน บริเวณจุดต่างๆ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก รักแร้ ขาหนีบ ซอกคอ ผิวหนัง น้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น แต่หากมีแบคทีเรียจึงเกิดกลิ่นเฉพาะ

ฟีโรโมน

หลังจากนั้นได้มีหลักฐานระบุว่า ฟีโรโมนเกี่ยวข้องกับการตกไข่ หลังการทดลองของนักวิจัยชื่อ มาร์ธา แมคคลินต็อก ที่ได้ค้นพบปรากฏการณ์ ‘McClintock Effect’ หลังเก็บเหงื่อของผู้หญิงคนหนึ่งให้ผู้หญิงอีกคนดม แล้วพบว่า วิธีนี้สามารถเร่งให้ไข่ตกเร็วหรือช้ากว่าเดิมได้ ขึ้นอยู่ว่าเก็บเหงื่อของผู้หญิงอีกคนในช่วงเวลาไหน

แม้งานวิจัยนี้จะมีผู้แย้งว่าหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ในชีวิตประจำวันเรามักพบว่า ผู้หญิงที่อยู่ใกล้ชิดกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะแม่-ลูก หรือรูมเมตที่อยู่ห้องเดียวกัน ประจำเดือนมักมาพร้อมกัน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นฝีมือของฟีโรโมนนั่นเอง ถึงตอนนี้แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถฟันธงว่าฟีโรโมนคือฮอร์โมนชนิดใด แต่ก็เชื่อว่ามีอยู่จริง ดังที่เห็นได้จากงานวิจัยต่อไปนี้

ในปี 2013 มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย ได้นำผ้าเปื้อนเหงื่อของผู้ชายขณะออกกำลังกายให้ผู้หญิงดม ซึ่งเหงื่อเหล่านี้มีฮอร์โมนเพศชายแอนโดรสเตโนน จากนั้นพบว่า เหงื่อนี้สามารถกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอลในเพศหญิงหลังดมเหงื่อ ทำให้ความต้องการทางเพศของฝ่ายหญิงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไข่ตก แต่หากให้เพศชายดมจะเป็นการเพิ่มความร่วมมือของเพศชาย ซึ่งเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้เชื่อว่าฮอร์โมนเหล่านี้อาจเป็นฝีมือของฟีโรโมน

งานวิจัยในปี 2004 ของมหาวิทยาลัยจีวาสกีลา ประเทศฟินแลนด์ ได้ให้ผู้หญิงเข้าร่วมทดลองจำนวน 81 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 39 คนที่ไข่ตกตามธรรมชาติ ส่วนผู้หญิงอีก 42 คนกินยาคุมกำเนิดและไม่มีไข่ตก จากนั้นให้ทั้งหมดสวมเชิ้ตสองวัน ก่อนส่งให้ฝ่ายชายจำนวน 31 คน และหญิง 12 คน ดมเชิ้ตตัวนั้นๆ ผลพบว่า สำหรับเพศชาย กลิ่นที่สร้างความสนใจทางเพศมากที่สุดเป็นกลิ่นเหงื่อของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงไข่ตก ส่วนกลิ่นเหงื่อของหญิงที่กินยาคุมกำเนิดไม่ได้สร้างความสนใจให้พวกเขาเลย ส่วนเพศหญิงก็มีความสนใจทางเพศคล้ายฝ่ายชาย แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ความสนใจทางเพศ

ฟีโรโมนยังเกี่ยวข้องกับความผูกพัน

มาถึงตอนนี้เราจึงพอสรุปได้ว่า เมื่อผู้หญิงไข่ตก ร่างกายจะขับฟีโรโมนออกมาเพื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศของฝ่ายชาย ทำให้มีเพศสัมพันธ์ เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติ ส่วนฝ่ายชายเองก็มีฟีโรโมนออกมาตามร่างกาย โดยเฉพาะรักแร้และตามผิวหนัง

แต่นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้ว การทำงานของฟีโรโมนยังเกี่ยวข้องกับความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก เมื่อแม่สามารถดมกลิ่นจากเสื้อผ้าแล้วแยกออกว่าชุดไหนเป็นของลูกตนเอง ส่วนลูกที่กินนมแม่ เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมนจากรักแร้ของแม่ ก็สามารถแยกแยะออกว่าเต้าไหนเป็นของแม่ตน

เราจึงสรุปได้ว่า ฟีโรโมนเป็นสารจากธรรมชาติไม่มีกลิ่น ส่วนใหญ่อยู่บริเวณจุดซ่อนเร้น หากอยากให้ทำงานได้ผล ต้องดูแลสุขอนามัย ไม่ให้มีกลิ่นของแบคทีเรีย ไม่กลบกลิ่นด้วยน้ำหอมกลิ่นต่างๆ หรือหมกหมม ซึ่งจะทำให้เกิดผลตรงกันข้าม (ลดความต้องการทางเพศ) แต่ถึงอย่างไร เราก็ยังมีสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้มากกว่าฟีโรโมน นั่นก็คือรูปร่างหน้าตา รอยยิ้ม ดวงตา น้ำเสียง บุคลิกภาพ ความสะอาด การแต่งกาย วิธีสื่อสาร หรือความเอาใจใส่ เพราะมนุษย์เรามักมองเห็นหรือสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ได้ก่อนกลิ่นฟีโรโมนจะโชยมาเสียอีก

สรุปแล้วว่าฟีโรโมนช่วยดึงดูดทางเพศได้จริง แต่อาจจะช่วยได้น้อยมาก ๆ เพราะฟีโรโมนเป็นสารธรรมชาติไม่มีกลิ่น แต่ก็มีทริคเสริมฟีโรโมนง่าย ๆ อยู่ด้วย เพียงแค่ดูแลความสะอาดจุดซ่อนเร้นจุดต่าง ๆ ให้สะอาด เพื่อไม่ให้เกิดแบคทีเรียทำลายฟีโรโมนนั่นเองค่า